กลับไปที่บทความทั้งหมด

การคำนวณ TCO และ ROI สำหรับโปรเจคสายการบรรจุใหม่

how to calculate tco and roi

กำลังคิดอยากลงทุนด้านเทคโนโลยีให้กับโรงงานของคุณอยู่หรือไม่? เคยสงสัยบ้างไหมว่าจะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของเครื่องจักรใหม่ที่สามารถนำไปใช้กับปฏิบัติการของคุณได้อย่างไร? ต้องการทราบแนวทางที่น่าเชื่อถือในการตรวจวัดต้นทุนที่แท้จริงของโครงการบรรจุภัณฑ์ใหม่หรือไม่?

การได้รับภาพรวมที่ชัดเจนและแม่นยำว่าอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ อย่างเช่น เครื่องจัดเรียงพาเลท ระบบบรรจุ และการชั่งน้ำหนัก สามารถส่งผลกระทบต่อบริษัทของคุณได้อย่างไร เป็นสิ่งสำคัญเมื่อต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุนหลัก ท้ายที่สุด ยังคงมีความเสี่ยงอยู่อีกมาก และไม่มีสูตรการทำงานหรือกฎเกณฑ์ใดๆ ให้คุณได้ปฏิบัติตามเพื่อประเมินทางเลือกของคุณเมื่อต้องซื้อเครื่องจักรใหม่ๆ

สิ่งนี้เป็นกระบวนการที่คุณจำเป็นต้องค้นหาตัวชี้วัดให้องค์กรของคุณได้ปรับใช้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ต้นทุนแรงงาน ค่าใช้จ่ายอสังหาริมทรัพย์ รายได้ตามคาดการณ์ และศักยภาพในการเติบโตล้วนเป็นตัวแปรในสมการนี้

ลำดับแรก ลองไปดูคำศัพท์เฉพาะกันหน่อย

  • ผลตอบแทนจากการลงทุน (RETURN ON INVESTMENT หรือ ROI): เกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ใช้ประมาณการผลกำไรจากการลงทุนโดยเปรียบเทียบกับปริมาณเงินก้อนแรกที่ได้ลงทุนได้
  • ต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TOTAL COST OF OWNERSHIP หรือ TCO): การวางแผนค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับการซื้อ การปรับใช้ การใช้งาน และการปลดระวางผลิตภัณฑ์ หรือเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนของอุปกรณ์
  • ระยะเวลาคืนทุน: การคำนวณจำนวนปีของอุปกรณ์ในการคืนทุนด้วยตัวเอง หรือรู้จักกันในชื่อของจุด ‘คุ้มทุน’
  • อายุการใช้งาน: อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ วัดค่าได้จากเวลา (ชั่วโมง วัน เดือน ปี) หรือรอบการใช้งาน
  • มูลค่าคงเหลือ: มูลค่าของอุปกรณ์เมื่อถึงหมดอายุการใช้งานโดยสัมพันธ์กับการประยุกต์ใช้เฉพาะทาง

มองให้ไกลกว่า ROI

ROI เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน และเมื่อพูดถึงการซื้ออุปกรณ์ใหม่ๆ ยังมีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อคำนวณตัวชี้วัดอันสำคัญนี้ แม้ความแพร่หลายของเครื่องมือการจัดการและหลักเกณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวในกระบวนการของการกำหนด ROI ของเครื่องจักรตัวใหม่ ในความเป็นจริงแล้วหลักเกณฑ์เหล่านี้ล้มเหลวในการพิจารณาปัจจัยเฉพาะที่ส่งอิทธิพลต่อ ROI ในการประยุกต์ใช้เฉพาะทางของคุณ

ไม่ได้ต้องการจะบอกว่าการคำนวณ ROI ควรถูกยกเลิกไปให้หมด หลักเกณฑ์ ROI ตามมาตรฐานควรถูกมองเป็นเพียงแค่เค้าโครงพื้นฐานให้คุณได้ใช้สร้างตัวชี้วัดแบบกำหนดขึ้นเองที่แสดงให้เห็นแง่มุมของ TCO ของการลงทุนในอุปกรณ์อัตโนมัติ
 


พิจารณาต้นทุนการเป็นเจ้าของ

ต้นทุนแรกเข้าของการสั่งซื้อหลักที่ตามปกติแล้วแสดงให้เห็นงบประมาณก้อนโต แต่เมื่อคำนวณต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากโครงการแล้ว คุณตระหนักหรือไม่ว่าราคาการสั่งซื้อจริงๆ ของอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่แสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายทุกรายการของคุณน้อยกว่าร้อยละ 10?

ฟังดูเป็นเรื่องบ้าใช่ไหม? ไม่เลยแม้แต่น้อย มีหลายปัจจัยในการประเมินผลเมื่อคำนวณต้นทุนการเป็นเจ้าของเครื่องจักร อย่างเห็นได้ชัดที่สุดคือต้นทุนการเข้าถือครอง ได้แก่ ราคาสั่งซื้ออุปกรณ์ใหม่ของคุณ แต่ยังมีค่าขนส่ง ค่าติดตั้งและค่าทดสอบการใช้งานของระบบ ค่าฝึกอบรม และต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายใบอนุญาตก่อสร้างอาคารอีกด้วย แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย

ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น = ต้นทุนการเป็นเจ้าของลดน้อยลง

หนึ่งในข้อดีอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์อัตโนมัติได้สร้างประสิทธิภาพและความแม่นยำ แสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดถึงร้อยละ 50 เกี่ยวข้องกับโครงการ ปัญหาอย่างผลิตภัณฑ์แจกแถม (บรรจุมากเกินไป) ถุงปิดผนึกไม่ถูกต้องและผลิตภัณฑ์ได้รับความเสียหาย จะไม่มีวันเกิดขึ้นกับเครื่องจักรที่ตอบโจทย์ ในทางกลับกันแล้วทำให้ TCO ลดลงและเพิ่มผลกำไรไปพร้อมๆกัน

การพิจารณาที่สำคัญอีกด้าน เป็นการบำรุงรักษาตามโครงการและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค รวมถึงการให้บริการทั่วๆ ไปและการหยุดงานตามที่คาดการณ์เอาไว้ บริษัทที่กำลังมองหาเพื่อซื้ออุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ จำเป็นต้องประเมินผลต้นทุนเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารการบำรุงรักษา การทดสอบประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน ต้นทุนการบำรุงรักษา อะไหล่ และชิ้นส่วน เนื่องจากหมวดหมู่นี้แสดงถึงต้นทุนถึงร้อยละ 35 ที่สัมพันธ์กับโครงการใหม่ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานกว่า 15 ปี

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่แท้จริง ที่แสดงให้เห็นว่าทำไมคุณควรเจาะลึกเมื่อคำนวณ TCO ของคุณ ลองคิดภาพระบบชั่งน้ำหนักรุ่นใหม่ล่าสุดที่มอบศักยภาพในการชั่งน้ำหนักได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ผลิตภัณฑ์แจกแถมโดยไม่เจตนาอาจทำให้บริษัทของคุณเสียหายกว่า 300,000 เหรียญต่อปี ภายในระยะเวลา 15 ปี นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายกว่า 4.5 ล้านดอลลาร์

การลงทุนเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการขาดทุนในอนาคตตามคาดการณ์ในระบบชั่งตวงแบบใหม่ไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาการขาดทุนจากผลิตภัณฑ์แจกแถม แต่ยังช่วยส่งมอบคุณประโยชน์อื่นๆ ให้กับบริษัทของคุณด้วย ในกรณีแบบนี้ คณิตศาสตร์พื้นฐานแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์รุ่นใหม่นี้จะคืนทุนภายในระยะเวลาแค่สองปี และในการวิเคราะห์เชิงลึกยังเปิดเผยให้เห็นถึงผลประโยชน์จากอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ในระยะยาวหลังจากคุณได้รับเงินทุนแรกเข้ากลับคืนมาแล้ว
 


ปัจจัยด้านแรงงาน

มนุษย์ต่างจากเครื่องจักร เพราะไม่สามารถทำกิจกรรมซ้ำไปมาได้อย่างแม่นยำตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ การพึ่งพาแรงงานคนเกี่ยวข้องกับตัวแปรจำนวนมากที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงและผลกำไรสุทธิของคุณ ทำให้เป็นเรื่องยากในการควบคุมค่าใช้จ่ายของคุณ

ในสภาพแวดล้อมการแข่งขันสูงและซับซ้อนอย่างเช่นทุกวันนี้ การจ้างงานและจัดการแรงงานสำหรับสายงานบรรจุภัณฑ์ต้องมีการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่เพียงแต่รับรองการปฏิบัติตามความต้องการของตำแหน่งงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อกำหนดจากรัฐบาลอย่างไม่รู้จบและข้อตกลงของสหภาพในเรื่องสิทธิแรงงานและมาตรฐานของสถานประกอบการ การจ้างแรงงานมนุษย์เพิ่มความเสี่ยงอย่างมากต่อปฏิบัติการของคุณ และความเสี่ยงเหล่านี้จำนวนมากอยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณอีกด้วย ในขณะที่คุณเริ่มก้าวเดินเพื่อสร้างสถานประกอบการอย่างสมบูรณ์ปลอดภัย แต่คุณไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างสิ้นเชิง แม้จะมีความพยายามอย่างสูงในการคาดการณ์ต้นทุนแรงงานในอนาคต คุณยังคงได้รับผลจากความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ การย้ายถิ่นฐานของประชากร และแม้แต่ข้อกฎหมายที่สัมพันธ์กับความปลอดภัยในสถานประกอบการหรือการเลือกปฏิบัติ ตัวแปรทุกอย่างสามารถส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อการสร้างผลกำไรในองค์กรของคุณได้

การโยกย้ายจากกระบวนการบรรจุภัณฑ์ด้วยแรงงานคนไปสู่แบบอัตโนมัติช่วยให้คุณได้คาดการณ์ ROI และ TOC ของคุณได้อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับ “ถ้าหาก” จำนวนมากที่มาพร้อมกับการใช้แรงงานคนในการทำภาระงานเดียวกัน

มองไปยังผลตอบแทนระยะยาว

เมื่อถึงเวลาต้องประเมินว่าจะลงทุนในอุปกรณ์ใหม่ๆ หรือไม่ หลายๆ บริษัทมองหาการคืนทุนภายในระยะเวลาสองปี และในบางกรณีมันเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้และเป็นสถิติสำคัญในการพิจารณา ในเวลาเดียวกัน เป็นเรื่องสำคัญในการมองอย่างสมดุล ซึ่งพิจารณาทั้งค่าใช้จ่ายต้นทุนแรกเข้าและผลประโยชน์ในระยะยาวของบรรจุภัณฑ์อัตโนมัติ

เพื่อให้มองเห็นภาพกว้างๆ ลองคำนวณ TCO และ ROI ในอีก 15 ปี (ถึงแม้ว่าคุณจะมองหาผลตอบแทนระยะสั้นก็ตาม) ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงผลตอบแทนระยะยาวที่เป็นไปได้ ที่ได้รับผ่านการลงทุนขนาดใหญ่ในอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์อัตโนมัติ

จักรกลอัตโนมัติ–ความได้เปรียบทางการแข่งขัน

แน่นอนว่า ตัวแปรสำคัญในสมการนี้ได้แก่ผลกระทบของจักรกลอัตโนมัติที่มีต่อศักยภาพของคุณในการค้นหาและรักษาผู้นำ ตลาดผู้มั่งคั่งรายใหม่ๆ

การอัพเกรดสถานประกอบการของคุณด้วยการติดตั้งอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่จะช่วยให้บริษัทของคุณมีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมากเมื่อต้องประมูลงาน เชิญชวนลูกค้า และค้นหาโอกาสต่อยอดใหม่ๆ ลูกค้าที่คาดหวังเอาไว้ของคุณจะรู้สึกยินดีกับความน่าเชื่อถือต่อการลงทุนที่เครื่องจักรได้นำพาเข้าสู่สถานประกอบการผลิตของคุณ ช่วยให้ธุรกิจของคุณได้รับศักยภาพเพื่อแย่งชิงสัญญามูลค่าสูงมากขึ้นและใหญ่ขึ้นไปอีก
 


‘ภาพรวม’ - ROI + TCO = ผลกำไรสุทธิของคุณ

โดยสรุป การประเมิน TCO และ ROI อย่างแท้จริงของโครงการบรรจุภัณฑ์รุ่นใหม่จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เชิงลึกอย่างละเอียดในด้านปัจจัยของความหลากหลาย รวมถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้:

  • ค่าใช้จ่ายที่เห็นได้ชัดเจนของเครื่องจักร ได้แก่ การขนส่ง ค่าภาษีและอากร เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและค่าใบอนุญาตในการก่อสร้าง
  • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสมาชิกบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ใหม่ รวมถึงการจัดการวัตถุดิบอย่างเคมีภัณฑ์
  • The utility expenditures related to the operation of the machinery
  • ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคในการดำเนินงานของเครื่องจักร

คุณยังต้องคำนวณเงินทุนสำรองตามคาดการณ์ และมูลค่ารายรับที่อาจเพิ่มขึ้นเมื่ออุปกรณ์ใหม่ของคุณได้ถูกติดตั้งและดำเนินการแล้ว ได้แก่:

  • การลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน ได้แก่ ค่าจ้าง สวัสดิการ ประกันภัย และโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทในด้านทรัพยากรมนุษย์
  • ความน่าเชื่อถือและกำลังการผลิตที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ประมูลสัญญามูลค่าสูงมากขึ้น และใหญ่ขึ้น
  • การกำจัดตัวแปรอันเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานมนุษย์ ได้แก่ ความกังวลในด้านการหยุดชะงักของแรงงาน การขาดแคลนแรงงานฝีมือ และการขาดงาน
  • ศักยภาพในการเพิ่มการผลิตและลดการใช้พื้นที่ทางกายภาพ ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค และทรัพยากรที่จำเป็น
  • การสูญเสียของผลิตภัณฑ์ลดลงได้ด้วยการเพิ่มศักยภาพของความแม่นยำในการตรวจวัดและการจัดการผลิตภัณฑ์
  • ความสามารถในการดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ พร้อมด้วยระยะเวลาหยุดงานเพื่อการบำรุงรักษาอย่างน้อยที่สุดและคาดการณ์ได้